
ภารกิจกู้ชีวิต “ตัวเลขที่สร้างความเสียหายให้เราได้มากที่สุดคือตัวเลขขาดดุลของสโมสร เรายังติดลบอยู่ 500 ล้านยูโร” เอดูอาร์ด โรเมว รองประธานสโมสรบาร์เซโลน่า กล่าว
ถือว่ายังอยู่ในช่วงพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกอย่างแท้จริงสำหรับ บาร์เซโลน่า เพราะแม้ว่าจะจบในตำแหน่งรองแชมป์ พร้อมคว้าตั๋ว UCL ในซีซั่น 2021-22 แต่พวกเขาก็ยังมีหนี้ก้อนใหญ่ต้องสะสาง
ซัมเมอร์นี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญของสโมสร โดยเฉพาะการหาเงินจำนวนมหาศาลมาอุดรอยรั่วให้ทันก่อนเส้นตายรายงานบัญชีงบดุลประจำปีที่กำลังคืบคลานเข้ามา
บาร์เซโลน่า ต้องทำอย่างไร และมีโอกาสแค่ไหนที่จะผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ติดตามไปพร้อมกับ Main Stand
เจ้าบุญทุ่มสู่เจ้าบุญทิ้ง
หากเอ่ยถึงสโมสรจากสเปน บาร์เซโลนา น่าจะเป็นชื่อลำดับแรก ๆ ที่ชาวไทยนึกถึง เพราะพวกเขาคือหนึ่งในทีมที่ผลัดกันขึ้นมาครองความยิ่งใหญ่ในลีกแดนกระทิงในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
และหนึ่งในนโยบายที่โด่งดังซึ่งผลักดันไปพร้อมกับการปั้นนักเตะเยาวชนจากศูนย์ฝึก “ลา มาเซีย” คือการใช้เงินจำนวนมหาศาลกว้านซื้อนักเตะซูเปอร์สตาร์ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1990s จนทำให้พวกเขาได้รับฉายาจากสื่อไทยว่า “เจ้าบุญทุ่ม”
แม้ว่านโยบายนี้จะเริ่มจางหายไปในช่วงทศวรรษที่ 2000s เมื่อบาร์ซาสามารถปลุกปั้นเยาวชนมาเป็นแกนหลักของทีมได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การ์เลส ปูโยล, ชาบี เอร์นานเดซ, อันเดรส อิเนียสต้า หรือ เปโดร โรดริเกวซ ทว่ามันก็ถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งหลังการเข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรของ โจเซป มาเรีย บาร์โตเมว ในปี 2014
นักธุรกิจรายนี้พยายามทำให้บาร์เซโลน่ากลายเป็น “ทีมรวมดาว” เหมือนกับคู่แข่งอย่าง เรอัล มาดริด เพื่อดึงดูดสปอนเซอร์ และทำให้ยุคของเขามีนักเตะระดับเวิลด์คลาสย้ายมาสวมเสื้อเลือดหมูน้ำเงินกันอย่างคับคั่ง
ไล่ตั้งแต่ เนย์มาร์, ฟิลิปเป้ คูตินโญ่, หลุยส์ ซัวเรซ, อิวาน ราคิติช, อุสมาน เด็มเบเล่, อองตวน กรีซมันน์ หรือล่าสุด แฟรงกี้ เดอ ยอง ที่แต่ละรายล้วนมีค่าตัวในระดับ 50-100+ ล้านยูโร รวมถึงค่าเหนื่อยในระดับที่แพงหูฉี่ด้วยกันทั้งนั้น
ในตอนแรกมันเหมือนจะไปได้สวย เมื่อมันทำให้บาร์ซ่าสามารถคว้าแชมป์ลา ลีกา ได้ถึง 4 สมัย โคปา เดล เรย์ 4 สมัย ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก และแชมป์สโมสรโลก อย่างละ 1 สมัยในยุคของ บาร์โตเมว ทว่าฝันร้ายก็มาเยือนพวกเขาในปี 2020
มันเป็นปีที่ทั่วโลกต้องระส่ำระส่าย จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อธุรกิจฟุตบอลอย่างหนัก รวมถึงบาร์เซโลน่า เมื่อพวกเขาต้องขาดรายได้จากค่าตั๋วเข้าชม หลังต้องเล่นในสนามที่ไร้แฟนบอลนานถึง 18 เดือน
อย่างไรก็ดีมันเป็นเพียงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะเมื่อรวมกับการใช้เงินอย่างมือเติบก่อนหน้านี้ กว่าจะรู้ตัว บาร์ซ่า ก็มีหนี้มากถึง 1,173 ล้านยูโร และทำให้พวกเขาต้องเสีย ลิโอเนล เมสซี่ นักเตะระดับไอคอนของสโมสรไปอย่างสุดช็อก เมื่อปี 2021
“บาร์โตเมวเป็นนักธุรกิจที่เก่ง แต่แนวคิดของเขามันใช้ไม่ได้กับการบริหารทีมฟุตบอล แผนการซื้อนักเตะของเขาก็ห่วย การบริหารเรื่องค่าเหนื่อยก็ห่วย ผลเสียก็มาอยู่กับผลงานในสนาม” ไมเคิล ฮิคส์ นักข่าวของ Sky Sports อธิบาย
“เขาคิดถึงแต่การซื้อนักเตะราคาแพงแต่ไม่คิดจะหาโค้ชระดับโลกมาคุมทีม คนอย่าง เอร์เนสโต บัลเบร์เด้ ไม่ดีพอสำหรับบาร์เซโลน่า ผลลัพธ์ที่ตามมาคือหลังจากนี้บาร์ซ่าต้องใช้เวลาที่ยาวนานมาก ๆ ในการสร้างทีมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง”
“สิ่งที่เกิดขึ้นกับบาร์เซโลน่าคือสิ่งเดียวกับที่เกิดขึ้นกับบาเลนเซีย (ใช้เงินเกินกำลัง, ตั้งโค้ชไม่เหมาะกับทีม, ผู้บริหารดำเนินนโยบายที่ผิด) ซึ่งถึงแม้จะมีแชมป์ติดมือแต่หลังจากนั้นคือหายนะ”
ติดตามข่าวสารวงการฟุตบอลสดใหม่ได้ที่ : เว็บแทงบอลออนไลน์888
ขอขอบคุณข่าวสารวงการกีฬาจาก : SiamSport